การให้บริการ
การให้บริการ
ทำเนียบบุคลากร
ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
งานนโยบายและแผน
งานควบคุมภายใน
งานพัสดุ
งานบริหารบุคคล
บริการออนไลน์
อบต.ในเครือข่าย
การต่อต้านการทุจริต
ITA
รวมลิงค์ต่างๆ
สนทนาออนไลน์
รายงานการประชุมสภา


  หน้าแรก     การเช่าทรัพย์ 

การเช่าทรัพย์
การเช่าทรัพย์  

 การเช่าทรัพย์

          การเช่าทรัพย์สินในทางกฎหมาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้ทรัพย์” ตกลงให้บุคคลหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้เช่า” ให้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีระยะเวลาอันจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ทั้งนี้ สัญญาเช่าทรัพย์ ไม่ได้หมายถึง สัญญาเช่าทรัพย์ สำหรับวัตถุที่มีรูปร่าง เช่น หนังสือ หรือ รถยนต์ เท่านั้น แต่รวมถึงทรัพย์ที่ไม่เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิในเครื่องหมายการค้าด้วย

สัญญาเช่าทรัพย์

1. สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทน : เป็นสัญญาที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยทางผู้ให้เช่ามีหน้าส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าแก่ผู้เช่าใช้ และผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระค่าเช่า เป็นการตอบแทน 2. สัญญาที่มิได้มุ่งหมายจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน : เป็นสัญญาที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน แต่เป็นการโอนสิทธิ์ในทรัพย์สินไปยังผู้เช่าตามวัตถุประสงค์ของสัญญานั้น ซึ่งผู้เช่าสามารถใช้งานหรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า ชั่วคราวตามระยะเวลาที่สัญญากำหนด และเมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าจะต้องส่งทรัพย์สินที่เช่าคืนแก่ผู้ให้เช่า 3. สัญญามีวัตถุเป็นทรัพย์สิน : หมายความว่า สิ่งที่จะนำมาให้เช่ากันได้นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สิน กล่าวคือวัตถุที่ให้เช่าอาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนสิทธิต่าง ๆ ที่มีราคาและอาจถือได้ เช่น สิทธิในสัมปทาน 4. สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงชั่วระยะเวลาอันจำกัด : เป็นสัญญาที่มีการกำหนดระยะเวลาการเช่าที่แน่นอน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัญญาเช่า ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเช่าไว้ก็ตาม 5. เป็นสัญญาที่ถือคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ : สิทธิของผู้เช่าที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าเท่านั้น จะโอนกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าระงับลง ไม่ตกทอดไปยังทายาท
ทรัพย์ที่เช่าได้ :
          ทรัพย์สิ่งของใดเจ้าของย่อมนำออกให้ผู้อื่นเช่าได้เสมอไม่ว่าทรัพย์นั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เคลื่อนย้ายได้หรือไม่ได้ก็ตาม ทรัพย์ที่เช่านี้มี 2 ประเภท
          (1)
อสังหาริมทรัพย์ คือ สิ่งที่ยึดติดกับพื้นที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ที่ดิน สวนบ้าน ตึกแถว เป็นต้น 
          (2)
สังหาริมทรัพย์ คือสิ่งที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ เรือ เกวียน เป็นต้น

หลักฐานการเช่า  :
          การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด
          (
ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า) ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าไม่ได้

หลักฐานเป็นหนังสือ :
          ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปหนังสือสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งฉบับแต่จะเป็นหนังสือใดๆ ก็ย่อมได้ เช่นจดหมายที่ผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าเขียนถึงกันเพื่อตกลงราคาค่าเช่าหรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าเป็นต้น ดังนั้น หลักฐานเป็นหนังสือจะเป็นในลักษณะใดก็ได้สำคัญอยู่ที่ว่า ข้อความในหนังสือนั้นแสดงให้เห็นว่าได้มีสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ก็พอจะใช้ยันผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าแล้ว หลักฐานเป็นหนังสือนี้ไม่จำเป็นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นแม้จะมีขึ้นในภายหลังจากการตกลงทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แล้วก็ใช้ได้
         
ถ้ามีการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี (กฎหมายห้ามเกิน 30 ปี )หรือมีการกำหนดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าจะต้องนำสัญญานั้นไปจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถ้าเป็นการเช่าบ้านหรือตึกแถวต้องไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่บ้านหรือตึกแถวนั้นตั้งอยู่ ถ้าเช่าที่ดิน (รวมทั้งบ้านด้วยก็ได้)ต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินประจำจังหวัด 
         
การเช่าสังหาริมทรัพย์แม้ว่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น ตกลงทำสัญญาเช่าด้วยวาจาก็ฟ้องร้องบังคับกันได้

การโอนความเป็นเจ้าของ :
          (1) ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าไม่ทำให้สัญญาเช่าที่ทำไว้เดิมสิ้นสุดลง เจ้าของคนใหม่ต้องยอมรับรู้และผูกพันตามสัญญาเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้ เจ้าของคนใหม่จึงเป็นผู้ให้เช่า
          (2)
ในสังหาริมทรัพย์ ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเจ้าของคนใหม่เรียกเอาทรัพย์ที่เช่าคืนได้ ถ้าผุ้เช่า เสียหาย เช่นให้ค่าเช่าล่วงหน้า 2 เดือน ก็ต้องไปทวงคืนเอาจากเจ้าของเดิม

เช่าช่วง :
         
เช่าช่วง คือการที่ผู้เช่าเอาทรัพย์ที่ตนเช่าให้คนอื่นเช่าต่อ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่นก เช่าเรือ ข แล้ว ก เอาเรือที่ตนเช่าไปให้ ค เช่าต่อ
         
การเช่าช่วงถือว่าเป็นการผิดสัญญาเช่าผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกสัญญาเรียกเอาทรัพย์ที่เช่าคืนได้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าอนุญาตในกรณีเช่นนี้เมื่อมีการเช่าช่วงผู้เช่าช่วงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ให้เช่า 

สัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา 
          คือ การที่ผู้เช่าตกลงทำการอย่างใดให้เกิดประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า เช่นผู้เช่ารับซ่อมแซม และต่อเติมบ้านเช่า ปลูกต้นไม้ในที่ดินที่เช่าหรือออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกที่เช่า เป็นต้น
สัญญาชนิดนี้มีผลผูกพันและฟ้องร้องบังคับกันได้แม้ไม่มีหลักฐานการเช่าหรือแม้ว่าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปีก็ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นอกจากนี้ผู้เช่าตายสัญญาชนิดนี้ไม่ระงับทายาทของผู้เช่า (พ่อ แม่ ลูก หลานของผู้เช่า) มีสิทธิเช่าได้ต่อไปจนกว่าจะครบอายุสัญญา

การสิ้นสุดแห่งสัญญาเช่า :

          (1) ถ้าเป็นสัญญาเช่ามีกำหนดเวลาการเช่าไว้ เมื่อสิ้นเวลาที่ได้ตกลงกันไว้สัญญาเช่าก็หมดอายุ 
          (2)
สัญญาเช่าย่อมระงับลงเมื่อทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมด เช่นบ้านที่เช่าถูกไฟไหม้
          (3)
สัญญาเช่าระงับลงเมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย 
          (4)
วิธีการเบิกเลิกสัญญาเช่าชนิดที่ไม่กำหนดระยะเวลาที่ให้เช่านั้นทั้งฝ่ายผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยการให้คำบอกกล่าวเลิกสัญญาซึ่งต้องบอกกล่าวล่วงหน้าในระยะเวลาไม่น้อยกว่ากำหนดระยะเวลาเช่าระยะหนึ่ง เช่นกำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ให้บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
          (5)
ถ้าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีถ้าการเช่านั้นมีการตกลงชำระค่าเช่ากันน้อยกว่ารายเดือน เช่น ชำระเป็นรายวันรายสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ เป็นต้น แต่หากมีการตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนหรือกว่ารายเดือน ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวผู้ให้เช่าภายในเวลาอย่างน้อย 15 วันหากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าในเวลาที่กำหนด ผู้ให้เช่าบอกเลิก
ปฏิทินกิจกรรม
ตุลาคม 2567
อา พฤ
29 30 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 1516 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31 1 2
3 4 5 6 7 8 9
วันที่ 15 ตุลาคม 2567
โครงสร้างการบริหาร
โรงแรม/ที่พัก
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
เว็บไซต์บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
การให้บริการ
กฎหมายน่ารู้
แบบสอบถาม
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 44.200.94.150
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,824,081

 
องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง
ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150
Tel : 0-4460-5096   Fax : 0-4460-5096
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.